วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

ภาคอีสาน (ประเทศไทย)


ภาคอีสาน เป็นเขตหรือภาคหนึ่ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง
การเกษตรนับเป็นอาชีพหลักของภาค แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางด้านสังคมเศรษฐกิจ ทำให้มีผลผลิตที่น้อยกว่าภาคอื่นๆ
ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน แต่ภาษาไทยกลางก็นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมร ที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น
ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น
ภาคอีสาน มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง และภูกระดึงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล

จังหวัดในภาคอีสาน
ดูเพิ่มที่ จังหวัดในประเทศไทย
ภาคอีสานมีจังหวัด ในความปกครองทั้งหมด 19 จังหวัด ดังนี้

จังหวัดกาฬสินธุ์

จังหวัดขอนแก่น

จังหวัดชัยภูมิ

จังหวัดนครพนม

จังหวัดนครราชสีมา

จังหวัดบุรีรัมย์

จังหวัดมหาสารคาม

จังหวัดมุกดาหาร

จังหวัดยโสธร

จังหวัดร้อยเอ็ด

จังหวัดเลย

จังหวัดสกลนคร

จังหวัดสุรินทร์

จังหวัดศรีสะเกษ

จังหวัดหนองคาย

จังหวัดหนองบัวลำภู

จังหวัดอุดรธานี

จังหวัดอุบลราชธานี

จังหวัดอำนาจเจริญ

อาหารหลักของชาวอีสาน
ปลาร้าหลน นำปลาร้าที่เป็นตัวใหญ่พอประมาณนำไปทอดในกระทะให้สุก นิยมกินกับข้าวเหนียว เครื่องเคียงมี พริกสด โหรพา กระเทียม
ข้าวจี่ จะนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว ปั้นเป็นก้อนโรยเกลือเสียบไม้ นำไปย่างไฟ แล้วทาทับด้วยไข่
ปลาร้าบอง นำปลาร้าเป็นตัวมาสับให้ละเอียดพร้อมกับใส่เครื่องปรุง เช่น ตะไคร้ พริก หอม กระเทียม ใบมะกรูด
ลาบ
หม่ำเนื้อ

คอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย
ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผล โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใชัในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์
ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์โดยรวมแล้ววัดกันที่ความเร็วการประมวลผล ซึ่งตามกฏของมัวร์ (Moore's Law) คอมพิวเตอร์จะเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเท่าทวีคูณในทุกปี
เนื้อหา

1 ประวัติของคอมพิวเตอร์
2 ประเภทของคอมพิวเตอร์
2.1 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
2.3 มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
2.4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC )
3 การทำงานของคอมพิวเตอร์
3.1 หน่วยประมวลผล
3.2 หน่วยความจำ
4 ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
5 อ้างอิง
6 ดูเพิ่ม
7 แหล่งข้อมูลอื่น
//

ประวัติของคอมพิวเตอร์
ดูบทความหลักที่ ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี หนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ในรูปเป็นเครื่องจำลองตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต
เป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าอุปกรณ์ใดจัดเป็นคอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ เพราะคำว่า "คอมพิวเตอร์" เองก็มีการตีความเปลี่ยนไปมาอยู่เสมอ แต่จุดเริ่มของคำนี้หมายถึงคนที่ทำหน้าที่เป็นนักคำนวณในสมัยนั้น
ช่วงปี ค.ศ. 1930 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1940 เป็นช่วงที่โลกได้มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถโปรแกรมได้และคำนวณผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพจริง แต่เป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกENIAC (Electronics Numerical Integrator and Computer) เกิดขึ้นในปี1946 และประดิษฐ์โดย จอห์น ดับลิว มอชลีย์ (John W. Mauchly) และ เจ เพรสเพอร์ เอคเกิรต (J. Prespern Eckert) ทำงานโดยใช้หลอดสุญญากาศจำนวน 18,000 หลอด มีน้ำหนัก 30 ตัน ใช้เนื้อที่ห้อง 15,000 ตารางฟุต เวลาทำงานต้องใช้กำลังไฟถึง 140 กิโลวัตต์ คำนวณในระบบเลขฐานสิบ
ค.ศ. 1941 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer
ค.ศ. 1941 จอห์น อตานาซอฟฟ์ และ คลิฟฟอร์ด เบอร์รี ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ได้ร่วมกันสร้าง คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี ซึ่งสามารถประมวลผลเลขฐานสอง
ค.ศ. 1944 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้ร่วมกันสร้างอีนิแอก ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศจำนวน 20,000 หลอด เพื่อสร้างหน่วยประมวลผล และถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกสำหรับการใช้งานทั่วไป โดยมีการประมวลผลแบบทศนิยม โดยหากต้องการตั้งโปรแกรมจะต้องต่อสายเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด
ค.ศ. 1948 Frederic Williams และ Tom Kilburn สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ หลอดรังสีคาโทด เป็นหน่วยความจำ
ค.ศ. 1947 ถึง 1948 John Bardeen, Walter Brattain และ Wiliam Shockley สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทราสซิสเตอร์ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
ค.ศ. 1951 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้พัฒนา UNIVAC Computer ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการขาย
ค.ศ. 1953 ไอบีเอ็ม (IBM) ออกจำหน่าย EDPM เป็นครั้งแรก และเป็นก้าวแรกของไอบีเอ็มในธุรกิจคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1954 John Backus และ IBM ร่วมกันสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ชื่อ FORTRAN ซึ่งเป็นภาษาระดับสูง (high level programming language) ภาษาแรกในประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1955 (ใช้จริง ค.ศ. 1959) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด, ธนาคารแห่งชาติอเมริกา, และ บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก ร่วมกันสร้าง ERMA และ MICR ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในธุรกิจธนาคาร
ค.ศ. 1958 Jack Kilby และ Robert Noyce เป็นผู้สร้าง Integrated Circuit หรือ ชิป(Chip) เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1962 สตีฟ รัสเซลล์ และ เอ็มไอที ได้พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกชื่อว่า "Spacewar"
ค.ศ. 1964 Douglas Engelbart เป็นผู้ประดิษฐ์เมาส์ และ ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์
ค.ศ. 1969 เป็นปีที่กำเนิด ARPAnet ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต
ค.ศ. 1970 อินเทล พัฒนาหน่วยความจำชั่วคราวของคอมพิวเตอร์หรือ RAM เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1971 Faggin, Hoff และ Mazor พัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ตัวแรกของโลกให้อินเทล (Intel)
ค.ศ. 1971 Alan Shugart และ IBM พัฒนา ฟลอปปี้ดิสก์ เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1973 Robert Metcalfe และ Xerox ได้พัฒนาระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) สำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1975 Scelbi และ Mark-8 Altair และ IBM ร่วมกันวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้รายย่อยเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1977 ถือกำเนิด Apple I, II และ TRS-80 และ Commodore Pet Computers ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกๆ ของโลก
ค.ศ. 1981 ไมโครซอฟท์ วางจำหนาย MS-DOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมที่สุดในช่วงนั้น
ค.ศ. 1983 บริษัทแอปเปิล ออกคอมพิวเตอร์รุ่น Apple Lisa ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ระบบ GUI
ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล วางจำหน่ายคอมพิวเตอร์รุ่น แอปเปิล แมคอินทอช ซึ่งทำให้มีการใช้คอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง
ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ วางจำหน่าย ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เป็นครั้งแรก

ประเภทของคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC )
ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น อาทิเช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

การทำงานของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆเช่น ENIAC เวลาโปรแกรมต้องใช้วิธีการเปลี่ยนสายเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุ่งยากมาก จึงเกิดแนวคิดว่าตัวโปรแกรมน่าจะจัดเก็บอยู่ในส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ง่าย เป็นที่มาของแนวคิดที่ทำการจัดเก็บข้อมูลต่างๆรวมถึงโปรแกรมไว้ใน หน่วยความจำ หรือ memory ทำให้คอมพิวเตอร์จะได้รับคำสั่งโดยการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำ และการปรับเปลี่ยนโปรแกรมสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงค่าภายในหน่วยความจำ
แนวคิดข้างต้นรู้จักในชื่อว่า "Stored-Program Concept" หรือ อีกชื่อว่าสถาปัตยกรรม von Neumann โดยเข้าใจว่า J. Presper Eckert และ John William Mauchly ซึ่งเป็นนักออกแบบ ENIAC เป็นผู้คิดค้นขึ้น
แนวคิดการทำงานแบบ Stored-Program ถูกใช้เป็นแนวคิดหลักของการทำงานในคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน โดยแนวคิดนี้จะแบ่งการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็น 4 ส่วนหลักได้แก่
หน่วยประมวลผลในรูปแบบข้อมูล Binary หรือที่เรียกว่า Arithmetic-Logical Unit (ALU) เปรียบเสมือนหัวใจของคอมพิวเตอร์ หน้าที่หลักของมันคือทำการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานอันได้แก่การบวกและลบ และการทำการเปรียบเทียบข้อมูลสองข้อมูลว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ถ้าไม่จะมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า
หน่วยความจำ หรือ Memory ใช้สำหรับเก็บข้อมูล (Data) และ คำสั่ง (Instructions) โดยข้อมูลภายในหน่วยความจำจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆเล็กๆเท่าๆกัน แต่ละส่วนมีที่อยู่ (address) เพื่อใช้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเอาไว้
อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต หรือ I/O Device เป็นส่วนที่ใช้นำข้อมูลจากโลกภายนอกเข้ามาภายในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาประมวลผล และเมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะนำข้อมูลที่ได้มาแสดงผลให้โลกภายนอกคอมพิวเตอร์ได้รับทราบ
หน่วยควบคุมการทำงาน หรือ Control Unit เป็นส่วนที่ใช้เชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน หน้าที่หลักๆคือทำการอ่านข้อมูลคำสั่งที่อยู่ภายในหน่วยความจำหรือที่ได้จากอุปกรณ์อินพุต ทำการแปลความหมายและส่งไปประมวลผลใน ALU จากนั้นนำผลที่ได้ไปจัดเก็บในหน่วยความจำหรืออุปกรณ์เอาต์พุต หน้าที่หลักอีกประการ คือควบคุมลำดับการทำงานของแต่ละขั้นตอนให้อยู่ในเวลาที่เหมาะสม

หน่วยประมวลผล
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยประมวลผล จะรับคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำ โดยส่งเข้าที่ Queue Prefetch Unit จะตรวจสอบว่า ค่าใน Queue เป็นคำสั่งหรือไม่ ถ้าเป็นคำสั่งจะสั่งให้ Bus Interface Unit (BIU) ส่งค่าของคำสั่งไปที่ Decode Unit ถ้าเป็นค่าที่อยู่ (Address) ของหน่วยความจำ จะถูกส่งไปที่ Segment and Paging Unit Segment and Paging Unit จะแปลงที่อยู่ของหน่วยความจำ จากที่อยู่เสมือน (Virtual Address) ในรูปแบบของ segment : offset ให้กลายเป็นที่อยู่จริง (Physical Address) ที่ Bus Interface Unit เข้าใจ หน่วยถอดรหัส (Decode Unit) จะตรวจสอบและแยกแยะคำสั่ง แล้วแปลคำสั่ง และส่งสัญญาณควบคุมไปให้ Execution Unit ทำงานตามคำสั่งนั้นใน Execution Unit จะประกอบด้วย
Control Unit (CU) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานภายในโปรเซสเซอร์เป็นตัวสั่งงาน Unit อื่นๆตามคำสั่งที่แปลจาก Decode Unit Protection Test Unit จะป้องกันและตรวจสอบการทำงานของส่วนต่างๆ ไม่ให้ทำผิดกฏเกณฑ์ จนเกิดข้อผิดพลาดขึ้น Register จะทำหน้าที่เก็บค่าชั่วคราวก่อนและหลังการประมวลเพื่อส่งให้ส่วนอื่นๆต่อไป เป็นเหมือนกระดาษทดชัว่คราว สำหรับ ALU Arithmetic Logic Unit (ALU) เป็นส่วนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และหาค่าตรรกะของการเปรียบเทียบ
เมื่อ ALU คำนวณหรือเปรียบเทียบค่าเรียบร้อยแล้ว จะส่งไปเก็บไว้ที่ Register แล้ว Control Unit จะสั่งให้ BIU เก็บค่าผลลัพธ์ลงในหน่วยความจำ โดยแปลงที่อยู่เสมือนที่ Control Unit กำหนด ให้กลายเป็น ที่อยู่จริงของหน่วยความจำที่จะนำผลลัพธ์ไปเก็บไว้

หน่วยความจำ
หน่วยความจำเป็นพื้นที่การทำงานและเป็นพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามลำพังโดยอาศัยเพียงหน่วยประมวลผลหลักได้ หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ หน่วยความจำชั่วคราว หรือ หน่วยความจำสำรอง คือ แรม (RAM: Random Access Memory) โดยแรมจะเป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน และจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง อีกชนิดหนึ่งคือหน่วยความจำถาวร หรือหน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง

ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น
การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน
การใช้งานทางด้านธุรกิจทั่วไป งานทำบัญชี รายการซื้อขาย งานเรียบเรียงเอกสาร งานประมวลคำ
งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร
ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพานิชอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจธนาคาร ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ
วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ภาคกลาง (ประเทศไทย)




ภาคกลาง หมายถึง ภูมิภาคตอนกลางของไทย ครอบคลุมพื้นที่แห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่กึ่งกลาง ระหว่าง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ในบางบริบท ภาคกลางอาจหมายรวมถึงภาคตะวันตกและภาคตะวันออกด้วย


การแบ่งพื้นที่
ราชบัณฑิตยสถาน ได้แบ่งภาคกลางออกเป็น 22 จังหวัด (ระบบ 6 ภาค) อย่างเป็นทางการ ซึ่งประกอบไปด้วย [1]
กรุงเทพมหานคร
กำแพงเพชร
ชัยนาท
นครนายก
นครปฐม
นครสวรรค์
นนทบุรี
ปทุมธานี
พระนครศรีอยุธยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุโขทัย
สุพรรณบุรี
อ่างทอง
อุทัยธานี
นอกจากการแบ่งตามราชบัณฑิตยสถานแล้ว หน่วยงานอื่นยังมีการกำหนดขอบเขตของภาคกลางแตกต่างกันออกไป คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคกลางประกอบด้วย 9 จังหวัดได้แก่ [1]
กรุงเทพมหานคร
ชัยนาท
นนทบุรี
ปทุมธานี
พระนครศรีอยุธยา
ลพบุรี
สระบุรี
สิงห์บุรี
อ่างทอง
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม กว้างใหญ่ เกิดจากตะกอนดิน ทราย กรวดที่ถูกแม่นำพัดพามาทับถมกัน จนกลายเป็นที่ราบที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง บริเวณที่ราบลุ่มตอนบน เป็นที่ราบลอนคลื่น บางแห่งเป็นที่ราบขั้นบันได และที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน บริเวณขอบเป็นที่ราบแคบๆหรือเนินเขา และบริเวณกล่มเขาโดดนครสวรรค์เป็นที่ราบลอนคลื่นและมีเนินเขาเตี้ยๆโผ่เป็นระยะจากนครสวรรค์ถึงชัยนาท

อาชีพของคนภาคกลาง
ลักษณะของพื้นที่ภาคกลางจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ดังนั้นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง จึงประกอบอาชีพเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และการทำประมงทั้งน้ำจืดและประมงน้ำเค็ม อีกทั้งอาชีพค้าขายก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่คนภาคกลางนิยมกันมาก เพราะว่าภาคกลาง จะมีทางคมนาคมที่สะดวกสบายทั้งทางบกและทางน้ำ ทำให้เหมาะแก่การทำการค้าเป็นอย่างยิ่ง
อาชีพในภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก คือการทำนา แต่จะมีอาชีพอย่างอื่นอีกมาก เช่น การทำไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่าง การทำสวนผัก สวนผลไม้ เช่น สวนส้ม ส้มโอ มะขามหวาน มะม่วง การเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงสุกร วัวเนื้อ วัวนม ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการอุตสาหกรรมต่าง ๆ การค้า งานบริการ ล้วนแต่เป็นอาชีพสำคัญ กรุงเทพมหานครเป็นนครที่ใหญ่โตมีประชากรมาก รวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกอย่างไว้ และขณะเดียวกันก็รวมเอาปัญหาสารพัดอย่างไว้ด้วย เช่น ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพย์ติด การจราจรติดขัด มลพิษทั้งอากาศและน้ำ ภาคกลางจึงเป็นศูนย์รวมทางเศรษฐกิจทุกด้าน ดังนั้นประชากรในเขตนี้โดยเฉลี่ยจึงมีความเป็นอยู่ดีกว่าประชากรในเขตอื่น ขณะที่ประทศเริ่มมีผลิตผลทางอุตสาหกรรมมากขึ้น การขยายตัวได้เริ่มจากภาคนี้และทำให้ในปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของผลิตผลทางอุตสาหกรรมมีมากกว่ามูลค่าการส่งออกของผลิตผลทางด้านเกษตรกรรม ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเราส่งสินค้าทางการเกษตรน้อยลง แต่เป็นผลมาจากการเปรียบเทียบมูลค่าระหว่างสองกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากภาคกลางเป็นแหล่งอาชีพที่สำคัญจึงพบว่าประชากรในภูมิภาคอื่นได้อพยพมาหางานในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียง นอกจากประชากรในประเทศเราแล้วยังมีคนต่างประเทศ เช่น กัมพูชา พม่า ลาว บังกลาเทศ ได้พยายามแอบมาหางานทำในภูมิภาคนี้ จึงนับได้ว่าภาคกลางเป็นภาคที่ก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจกว่าภูมิภาคอื่นๆ

เครื่องดนตรีพื้นบ้านของภาคกลาง
ซอด้วง
ซอสามสาย
ซออู้
จะเข้
ปี่
ขลุ่ย
โทนรำมะนา
ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงใหญ่
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

เขตภาษีเจริญ


เขตภาษีเจริญ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร


แห่พระธาตุวัดนางชี บารมีหลวงพ่อวัดปากน้ำ ศิลปกรรมอารามมากมีศาลขุนด่านเจ้าพ่อเสือเกื้อหนุนความดีชมของดีที่... ภาษีเจริญ

ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย
เขตภาษีเจริญ
อักษรโรมัน
Khet Phasi Charoen
รหัสทางภูมิศาสตร์
1022
รหัสไปรษณีย์
10160
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่
17.18 ตร.กม.
ประชากร
133,622 คน (พ.ศ. 2551)
ความหนาแน่น
7,777.76 คน/ตร.กม.
สำนักงานเขต
ที่ตั้ง
เลขที่ 46 หมู่ที่ 9 ซอยเพชรเกษม 54 (ทิพย์นิยม 2) ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
พิกัด
13°42′53″N, 100°26′14″E
หมายเลขโทรศัพท์
0 2413 0565 ต่อ 6607-6610
หมายเลขโทรสาร
0 2413 0565 ต่อ 6610
เว็บไซต์
เว็บไซต์สำนักงานเขตภาษีเจริญ
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เขตภาษีเจริญ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตตากสิน ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตธนบุรี มีคลองบางกอกใหญ่และคลองบางหลวงน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับและเขตจอมทองและเขตบางบอน มีคลองวัดนางชี คลองตาม่วง คลองสวนเลียบ คลองวัดโคนอน คลองบางหว้า คลองสวนหลวง คลองรางบัว คลองตาฉ่ำ ลำประโดง คลองวัดสิงห์ และคลองบางโคลัด เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางแค มีคลองพระยาราชมนตรี คลองบางแวก คลองบางไผ่ และคลองลัดตากลั่น เป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต
ชื่อของเขตนั้นนำมาจากชื่อของ คลองภาษีเจริญ ที่ขุดขึ้นเชื่อมแม่น้ำท่าจีน (ที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน แขวงเมืองสมุทรสาคร) กับคลองบางกอกใหญ่ เพื่อเป็นการสัญจรทางน้ำ ซึ่งเน้นการส่งอ้อยและน้ำตาลจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวง โดยเริ่มขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2401 เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2415 และชื่อคลองตั้งตามชื่อพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ต่อมาเป็น พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์) ผู้เป็นแม่กองดูแลงานขุดคลองนี้

ประวัติศาสตร์
จากนั้นได้มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองภาษีเจริญมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ ทางราชการจึงได้จัดตั้ง อำเภอภาษีเจริญ ขึ้นในปี พ.ศ. 2442 มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดธนบุรี และในปี พ.ศ. 2498 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วนที่ตั้งอยู่ริมคลองสายนี้ และในปี พ.ศ. 2513 ได้ขยายเขตออกไปจนครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งอำเภอ (เหลือเพียงตำบลบางไผ่ ตำบลบางแวก ส่วนตำบลคูหาสวรรค์และตำบลปากคลองภาษีเจริญอยู่ในเขตเทศบาลนครธนบุรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479)
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งได้ยุบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ อำเภอภาษีเจริญจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 มีหน่วยการปกครองย่อย 10 แขวง
ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดูแลแขวงบางแค บางแคเหนือ และบางไผ่ และในปี พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศแบ่งพื้นที่ปกครองของสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดังกล่าวออกไปตั้งเป็นเขตบางแค

การแบ่งเขตการปกครอง
แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 แขวง 55 หมู่บ้าน คือ
อักษรไทย
อักษรโรมัน
พื้นที่(ตร.กม.)
จำนวนหมู่บ้าน
จำนวนประชากร(ธันวาคม 2550)
ความหนาแน่น(คน/ตร.กม.)
จำนวนบ้าน(ธันวาคม 2550)
บางหว้า
Bang Wa
4.86
15
39,391
8,105
13,715
บางด้วน
Bang Duan
3.52
15
30,416
8,641
8,652
บางจาก
Bang Chak
1.50
7
7,187
4,791
2,396
บางแวก
Bang Waek
2.29
11
20,800
9,082
7,980
คลองขวาง
Khlong Khwang
2.65
7
10,890
4,109
3,588
ปากคลองภาษีเจริญ
Pak Khlong Phasi Charoen
0.50
ไม่มีระบบหมู่บ้าน
18,861
37,722
7,047
คูหาสวรรค์
Khuha Sawan
1.86
ไม่มีระบบหมู่บ้าน
6,862
3,689
1,865
ทั้งหมด
17.18
55
134,407
7,823
45,243

สถานที่สำคัญ
วัดปากน้ำภาษีเจริญ
วัดอัปสรสวรรค์
วัดนางชีวรวิหาร
วัดนวลนรดิศวรวิหาร
ศาลขุนด่านเจ้าพ่อเสือ บางหว้า
วัดนิมมานรดี
วัดทองศาลางาม
วัดคูหาสวรรค์
วัดจันทร์ประดิษฐาราม
วัดอ่างแก้ว
มหาวิทยาลัยสยาม
ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค บางแค
โรงพยาบาลพญาไท 3
โรงพยาบาลบางไผ่
โรงพยาบาลภาษีเจริญ
โรงเรียนผดุงกิจวิทยา

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วัดนวลนรดิศ


สถานที่ตั้ง
วัดนวลนรดิศเป็นวัดอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ที่ตั้ง อยู่บนฝั่งตะวันตกของคลองบางกอกใหญ่ อยู่ตรงกันข้ามกับ วัดประดู่ฉิมพลี โดยมีคลองกั้น
อาณาเขต วัดนวลนรดิศวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 157 แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครที่ตั้งวัดอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของคลองบางกอกใหญ่ และติดต่อกับคลองขุดภาษีเจริญ(เป็นพื้นที่ที่ไม่มีผู้ใหญ่บ้านมาตั้งแต่ โบราณ เพราะว่าเป็นเศษที่ดินใกล้กับเขตพระราชทานในสมัยกรุงธนบุรี) ในปัจจุบันมีเนื้อที่ตั้งวัดรวม 12 ไร่ 2 งาน 93 ตารางวาทิศเหนือ จดที่ดินเอกชนทิศใต้ ทางหลังวัดจดเขตพระราชวัง (วังประตูน้ำของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีิ์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6)ทิศตะวันออก จดคลองบางกอกใหญ่ทิศตะวันตก จดที่ดินเอกชน
วัดนวลนรดิศวรวิหาร เดิมเป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอน เดิมเรียกกันว่า วัดมะกอกใน คู่กับวัดมะกอกนอก (วัดอรุณราชวราราม) เนื่องจากตั้ง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแนวเดิม ปัจจุบันคือคลองบางกอกใหญ่ โดยวัดอรุณราชวรารามตั้งอยู่ด้านนอก วัดนวลนรดิศอยู่ลึกเข้าไปอีก จึงเรียกว่าวัดมะกอกใน ในสมัยกรุงธนบุรี วัดมะกอกในอยู่ ในสภาพที่ ชำรุดทรุดโทรมมากจนเกือบจะเป็นวัดร้าง ครั้งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ท่านผู้หญิงนวล ภริยาเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ซึ่งเป็น พระภคินีของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชนีใน สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เห็นความทรุดโทรมของ วัดบังเกิดความรู้สึกสลดใจ จึงรับเป็นผู้อุปการคุณวัด ได้ ทำการ บูรณปฏิสังขรณ์โดยการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง แล้วสถาปนาใหม่ ระยะนี้อยู่ในราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอนต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วท่านผู้หญิงนวล ก็ถึงแก่อนิจกรรม