วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

เขตภาษีเจริญ


เขตภาษีเจริญ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร


แห่พระธาตุวัดนางชี บารมีหลวงพ่อวัดปากน้ำ ศิลปกรรมอารามมากมีศาลขุนด่านเจ้าพ่อเสือเกื้อหนุนความดีชมของดีที่... ภาษีเจริญ

ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย
เขตภาษีเจริญ
อักษรโรมัน
Khet Phasi Charoen
รหัสทางภูมิศาสตร์
1022
รหัสไปรษณีย์
10160
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่
17.18 ตร.กม.
ประชากร
133,622 คน (พ.ศ. 2551)
ความหนาแน่น
7,777.76 คน/ตร.กม.
สำนักงานเขต
ที่ตั้ง
เลขที่ 46 หมู่ที่ 9 ซอยเพชรเกษม 54 (ทิพย์นิยม 2) ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
พิกัด
13°42′53″N, 100°26′14″E
หมายเลขโทรศัพท์
0 2413 0565 ต่อ 6607-6610
หมายเลขโทรสาร
0 2413 0565 ต่อ 6610
เว็บไซต์
เว็บไซต์สำนักงานเขตภาษีเจริญ
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เขตภาษีเจริญ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตตากสิน ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตธนบุรี มีคลองบางกอกใหญ่และคลองบางหลวงน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับและเขตจอมทองและเขตบางบอน มีคลองวัดนางชี คลองตาม่วง คลองสวนเลียบ คลองวัดโคนอน คลองบางหว้า คลองสวนหลวง คลองรางบัว คลองตาฉ่ำ ลำประโดง คลองวัดสิงห์ และคลองบางโคลัด เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางแค มีคลองพระยาราชมนตรี คลองบางแวก คลองบางไผ่ และคลองลัดตากลั่น เป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต
ชื่อของเขตนั้นนำมาจากชื่อของ คลองภาษีเจริญ ที่ขุดขึ้นเชื่อมแม่น้ำท่าจีน (ที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน แขวงเมืองสมุทรสาคร) กับคลองบางกอกใหญ่ เพื่อเป็นการสัญจรทางน้ำ ซึ่งเน้นการส่งอ้อยและน้ำตาลจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวง โดยเริ่มขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2401 เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2415 และชื่อคลองตั้งตามชื่อพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ต่อมาเป็น พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์) ผู้เป็นแม่กองดูแลงานขุดคลองนี้

ประวัติศาสตร์
จากนั้นได้มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองภาษีเจริญมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ ทางราชการจึงได้จัดตั้ง อำเภอภาษีเจริญ ขึ้นในปี พ.ศ. 2442 มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดธนบุรี และในปี พ.ศ. 2498 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วนที่ตั้งอยู่ริมคลองสายนี้ และในปี พ.ศ. 2513 ได้ขยายเขตออกไปจนครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งอำเภอ (เหลือเพียงตำบลบางไผ่ ตำบลบางแวก ส่วนตำบลคูหาสวรรค์และตำบลปากคลองภาษีเจริญอยู่ในเขตเทศบาลนครธนบุรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479)
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งได้ยุบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ อำเภอภาษีเจริญจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 มีหน่วยการปกครองย่อย 10 แขวง
ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดูแลแขวงบางแค บางแคเหนือ และบางไผ่ และในปี พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศแบ่งพื้นที่ปกครองของสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดังกล่าวออกไปตั้งเป็นเขตบางแค

การแบ่งเขตการปกครอง
แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 แขวง 55 หมู่บ้าน คือ
อักษรไทย
อักษรโรมัน
พื้นที่(ตร.กม.)
จำนวนหมู่บ้าน
จำนวนประชากร(ธันวาคม 2550)
ความหนาแน่น(คน/ตร.กม.)
จำนวนบ้าน(ธันวาคม 2550)
บางหว้า
Bang Wa
4.86
15
39,391
8,105
13,715
บางด้วน
Bang Duan
3.52
15
30,416
8,641
8,652
บางจาก
Bang Chak
1.50
7
7,187
4,791
2,396
บางแวก
Bang Waek
2.29
11
20,800
9,082
7,980
คลองขวาง
Khlong Khwang
2.65
7
10,890
4,109
3,588
ปากคลองภาษีเจริญ
Pak Khlong Phasi Charoen
0.50
ไม่มีระบบหมู่บ้าน
18,861
37,722
7,047
คูหาสวรรค์
Khuha Sawan
1.86
ไม่มีระบบหมู่บ้าน
6,862
3,689
1,865
ทั้งหมด
17.18
55
134,407
7,823
45,243

สถานที่สำคัญ
วัดปากน้ำภาษีเจริญ
วัดอัปสรสวรรค์
วัดนางชีวรวิหาร
วัดนวลนรดิศวรวิหาร
ศาลขุนด่านเจ้าพ่อเสือ บางหว้า
วัดนิมมานรดี
วัดทองศาลางาม
วัดคูหาสวรรค์
วัดจันทร์ประดิษฐาราม
วัดอ่างแก้ว
มหาวิทยาลัยสยาม
ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค บางแค
โรงพยาบาลพญาไท 3
โรงพยาบาลบางไผ่
โรงพยาบาลภาษีเจริญ
โรงเรียนผดุงกิจวิทยา

ไม่มีความคิดเห็น: